24.2 C
Thailand
วันศุกร์ 22 พฤศจิกายน 2024

ประโยชน์ของน้ำแร่ แต่ละชนิด และข้อควรระวัง (Mineral Water)

Recommend

One
Onehttp://www.bkkparttime.com/
เว็บรวมงานพาร์ทไทม์ ฟลูไทม์ จากบริษัทชั้นนำทั่วประเทศ

น้ำแร่ เป็นน้ำอีกหนึ่งทางเลือกของคนที่ไม่ชอบดื่มน้ำเปล่า และเชื่อว่าการดื่มน้ำแร่ทุกวันจะช่วยให้สุขภาพแข็งแรง จากความเชื่อนี้ทำให้ปัจจุบันมีน้ำแร่หลากหลายยี่ห้อให้เราเลือกซื้อ แต่ทราบไหมว่า? น้ำแร่แต่ละยี่ห้อที่เราจะเลือกซื้อมานั้น มีประโยชน์ต่อร่างกายเราอย่างไร? และควรดื่มน้ำแร่ประเภทไหน?

น้ำแร่ (Mineral Water) คือน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีแร่ธาตุผสมในอัตราสูงกว่าน้ำปกติ ผู้คนเชื่อว่าการดื่มน้ำแร่นั้นจะช่วยบำรุงสุขภาพ รู้ไหมว่าน้ำแร่ที่เราเคยเห็นนั้นมีหลายประเภท โดยแบ่งได้ดังนี้

Bicarbonate Water
น้ำแร่ไบคาร์บอเนต (Bicarbonate water)

💧 น้ำแร่ไบคาร์บอเนต (Bicarbonate Water) มีปริมาณไบคาร์บอเนต มากกว่า 600 มิลลิกรัม/ลิตร ช่วยปรับให้สารคัดหลั่งที่มีฤทธิ์เป็นกรดกลายเป็นกลาง, กระตุ้นการเคลื่อนของอาหารจากกระเพาะไปยังลำไส้เล็กให้เร็วขึ้น, กระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมนในกระเพาะอาหาร, ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำและเหลือแร่ให้แก่ร่างกาย จึงควรดื่มน้ำแร่นี้ 500-700 มิลลิลิตร ก่อนออกกำลังกายหรือทำงานที่ต้องเสียเหงื่อ เนื่องจากจะช่วยในการลดภาวะเลือดเป็นกรด ตัวอย่าง ของน้ำแร่ชนิดนี้ได้แก่ น้ำแร่ยี่ห้อ Volvic, Fiji, Snowy mountain เป็นต้น

SunGreen
น้ำแร่ซัลเฟต (Sulfate water)

💧 น้ำแร่ซัลเฟต (Sulfate water) มีปริมาณ ซัลเฟต มากกว่า 200 มิลลิกรัม/ลิตร ช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ โดยเฉพาะในคนที่ท้องผู้กเรื้อรัง เนื่องจาก น้ำแร่ซัลเฟตมีความดันออสโมติก (Osmotic pressure) ช่วยกระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมนซีซีเค (CCK) เนื่องจากซัลเฟตมีผลต่อระบบต่อมไร้ท่อ ตัวอย่าง ของน้ำแร่ชนิดนี้ได้แก่ น้ำแร่ยี่ห้อ SunGreen เป็นต้น

💧 น้ำแร่ซัลเฟต-ไบคาร์บอเนต (Sulfate-bicarbonate waters) ใช้รักษาภาวะที่การทำงานของถุงน้ำดีผิดปกติ, นิ่วในถุงน้ำดี, อาการหลังผ่าตัดถุงน้ำดี

💧 น้ำแร่ซัลเฟอร์, เกลือ-ไอโอดีน, เกลือ-โบรมีน-ไอโอดีน (Sulfurous, salt-iodine, salt-bromine-iodine waters) มักใช้กับอวัยวะภายนอกร่างกาย เช่น การอาบ หรืออาจใช้สูดพ่นทางเดินหายใจ บรรเทาอาการอักเสบของระบบสืบพันธุ์เพศหญิง และบรรเทาอาการทางผิวหนังบางชนิด

💧 น้ำแร่ซัลเฟอร์และไบคาร์บอเนต (Sulfurous and bicarbonate waters) ใช้ในการรักษาโรคเบาหวาน โดยจะลดระดับน้ำตาล อาการกระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อย และช่วยลดความต้องการอินซูลิน นอกจากนี้น้ำแร่ไบคาร์บอเนต ยังช่วยลดภาวะเลือดเป็นกรดในผู้ป่วยเบาหวานได้

💧 น้ำแร่คลอรีน (น้ำเกลือ) (Chlorinated water) (Salt water) มีปริมาณคลอไรด์ มากกว่า 200 มิลลิกรัม/ลิตร ช่วยในการกระตุ้นการทำงานของลำไส้และการหลั่งสารที่เกี่ยวข้องกับน้ำและอิเล็กโตรไลท์, กระตุ้นการหลั่งน้ำดี, บรรเทาอาการท้องผูก

Calcium water
น้ำแร่แคลเซียม (Calcium water)

💧 น้ำแร่แคลเซียม (Calcium water) มีปริมาณแคลเซียม มากกว่า 150 มิลลิกรัม/ลิตร น้ำแร่ที่มีแคลเซียมในปริมณมากเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่มีความต้องการแคลเซียมในปริมาณมากกว่าคนปกติ เช่น เด็ก หญิงตั้งครรภ์ สตรีวัยหมดประจำเดือน ผู้สูงอายุ และจากการวิจัยไม่นานมานี้ พบว่า แคลเซียมอาจช่วยป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงได้อีกด้วย ตัวอย่าง ของน้ำแร่ชนิดนี้ได้แก่ น้ำแร่ยี่ห้อ Evian, Badoit เป็นต้น

💧 น้ำแร่แมกนีเซียม (Magnesium water) มีปริมาณแมกนีเซียม มากกว่า 50 มิลลิกรัม/ลิตร การมีแมกนีเซียมในน้ำแร่สูงจะช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำดี เนื่องจากมีผลในการทำให้ Oddi sphincter คลายตัว

💧 น้ำแร่ฟลูออเรด (Fluorate water) มีปริมาณฟลูออไรด์ มากกว่า 1 มิลลิกรัม/ลิตร

💧 น้ำแร่เหล็ก (Ferrous water) มีปริมาณเหล็กเฟอรัส มากกว่า 1 มิลลิกรัม/ลิตร ช่วยบรรเทาอาการในภาวะโลหิตจากที่เกิดจากการขาดธาตุเหล็ก และใช้ในภาวะไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) หรือภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์

💧 น้ำแร่โซเดียม (Sodium water) ปริมาณโซเดียม มากกว่า 200 มิลลิกรัม/ลิตร

💧 น้ำแร่เกลือต่ำ (Low-salt water) ปริมาณโซเดียม น้อยกว่า 20 มิลลิกรัม/ลิตร

💧 น้ำแร่คาร์บอร์นิค (Carbonic waters) มักใช้ในการอาบ และบรรเทาอาการของหลอดเลือดส่วนปลาย

วิธีดื่มน้ำแร่ ควรทำอย่างไร ? เราสามารถแบ่งวิธีดื่มน้ำแร่ได้ 2 วิธี คือ
• การดื่มน้ำแร่ปริมาณมากในระยะเวลาสั้นๆ (Water loading) คือ การดื่มน้ำปริมาณ 1 ลิตร ภายใน 30 นาที ขณะท้องว่าง ซึ่งการดื่มน้ำแร่วิธีนี้จะใช้กับน้ำแร่ชนิดที่หวังผล เช่น เพื่อขับนิ่วออกจากร่างกาย วิธีนี้ไม่ควรดื่มก่อนนอน เนื่องจากจะทำให้ต้องลุกขึ้นมาเข้าห้องน้ำในช่วงกลางคืน
• การดื่มแบบทยอยในปริมาณไม่สูง (Subdivided doses) คือ การดื่มน้ำแร่ปริมาณ 500 มิลลิลิตร และ ตามด้วยน้ำแร่ 10 มิลลิลิตร/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โดยจิบน้ำครั้งละน้อยขณะอ่อนเพลีย ขณะเดิน หรือพร้อมมื้ออาหาร

นักกีฬา
นักกีฬา

สำหรับนักกีฬา ควรดื่มน้ำแร่ที่มีปริมาณเกลือแร่น้อยถึงปานกลาง ตลอด 2 ชั่วโมงก่อนการแข่งขัน โดยดื่ม 100-150 มิลลิลิตร ทุก 15-20 นาที และดื่ม 400-500 มิลลิลิตร 15 นาทีสุดท้ายของชั่วโมงที่ 2 หลังการอบอุ่นร่างกาย ระหว่างการแข่งขัน ควรดื่ม 200-250 มิลลิลิตร ทุก 15-20 นาที โดยปริมาณของเหลวที่ดื่มเข้าร่างกายหลังแข่งขันหรือเล่นกีฬานั้น ควรมีปริมาณร้อยละ 150 ของน้ำหนักตัว ซึ่งปริมาณของเหลวที่บริโภคโดยทั่วไป คือ 50 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน

ใครไม่ควรดื่มน้ำแร่?
ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้ประโยชน์จากน้ำแร่ หากดื่มไปโดยไม่ระวังอาจเป็นผลเสียต่อร่างกายได้ แล้วใครกัน…ที่ไม่ควรดื่มน้ำแร่?
• น้ำแร่ (ทั่วไป) ไม่เหมาะกับผู้ที่บวมน้ำ ผู้ป่วยโรคไต ผู้ที่มีการทำงานของหัวใจไม่ดี
• น้ำแร่ที่มีปริมาณโซเดียมสูง ไม่เหมาะกับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
• น้ำแร่ซัลเฟต ไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่มีโรคที่เกี่ยวกับทางเดินอาหาร และมีแผลในทางเดินอาหาร
• น้ำแร่ซัลเฟอร์ ไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบทางเดินหายใจ (ภาวะหลอดลมหดเกร็ง)
• น้ำแร่ไบคาร์บอเนต ไม่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาในการย่อยอาหารในกระเพาะอาหาร (gastric hypochilia)
• น้ำแร่เกลือโซเดียมคลอไรด์ ไม่เหมาะกับผู้ที่มีการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารปริมาณมาก แผลในกระเพาะอาหาร และความดันโลหิตสูง

More articles

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

Latest article