ภาวะการไหลย้อนที่กระเพาะอาหาร Gastroesophageal Reflux (GER) เกิดจากสิ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขี้นไปที่หลอดอาหาร ในระหว่างหรือหลังการรับประทานอาหาร หลอดอาหารมีจุดที่เชือมต่อระหว่างหลอดอาหารกับกระเพาะอาหาร และจะมีกล้ามเนื้อรูปวงแหวนทำหน้าที่เป็นประตูเปิดให้อาหารเข้าไปในกระเพาะอาหาร และปิดไม่ให้สิ่งที่อยู่ในกระเพาะไหลย้อนเข้าไปในหลอดอาหาร
กล้ามเนื้อนี้มีชื่อเรียกว่า กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง อาการดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อหูรูด อยู่ในจังหวะเปิดทำให้สิ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหาร ซึ่งมีกรดหรือน้ำย่อยไหลเข้าไปในหลอดอาหาร มักเกิดกับทารกและมักจะหายไปเองเมื่อเจริญเติบโตขึ้น มีจำนวนน้อยมากที่มีภาวะนี้อยู่ผู้ใหญ่และเด็กเกือบทุกคนจะมีภาวะการไหลย้อนที่กระเพาะอาหารในปริมาณเล็กน้อยโดยไม่เคยรู้สึก เนื่องจากสิ่งที่ไหลย้อนนั้นสามารถไหลกลับเข้าไปในกระเพาะอาหารโดยไม่ทำอันตรายต่อหลอดอาหาร อย่างไรก็ตามในเด็กบางรายนั้นสิ่งที่ไหลย้อนมานั้นยังคงอยู่ในหลอดอาหารและทำให้เกิดการอักเสบ ในบางรายที่ภาวะการไหลย้อนไหลขึ้นไปถึงบริเวณปากและลำคอ เมื่อมีการกลืนลงไปอีกครั้งสิ่งที่ไหลย้อนอาจจะไหลผ่านบริเวณด้านหลังของปากซึ่งเชื่อมต่อกับทางเดิน หายใจ ทำให้มีอาการเสียงแหบหรือไอได้รวมถึงอาการต่างๆ ดังนี้
• ปอดบวมหรือปอดอักเสบบ่อย
• เสียงแหบแห้ง
• กลืนอาหารยากและเจ็บ
• อาเจียน
• เจ็บคอ
• น้ำหนักลด
• เจ็บเสียดบริเวณหน้าอกที่เรียกว่า Heartburn
วิธีการรักษากรดภาวะไหลย้อน
การรักษาขึ้นอยู่กับอาการและอายุของผู้ป่วย แพทย์อาจจะแนะนำให้ทานยาเพื่อลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหารในระยะเบื้องต้น
- ยาลดกรด (antacids) หรืดยาลดการผลิตกรด (H2-blockers) ยาชนิดนี้ช่วยทำให้กรดไม่ไหลย้อนเข้าหลอดอาหาร มักจะใช้ในการรักษาผู้ป่วยเด็กเนื่องจากเป็นยาน้ำ เช่น cimetidine (Tagamet), ranitidine (Zantac), famotidine (Pepcid) และnizatidine (Axid)
- ยาในระดับที่สอง ยาที่ทำให้หยุดการผลิตกรดในกระเพาะอาหารคือยา ในกลุ่ม proton-pump inhibitors (PPIs) ซึ่งทำหน้าที่ยับยั้งการผลิตกรดของกระเพาะอาหารหรือไม่มีการผลิตกรดใน กระเพาะอาหารเลย ยาประเภทนี้มีผลข้างเคียงน้อย แต่ก็มีรายงานผลข้างเคียงว่าอาจเกิดการท้องผูก คลื่นไส้ และปวดศรีษะ ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ เช่น esomeprazole (Nexium),omeprazole (Prilosec),lansoprazole (Prevacid),rabeprazole (Aciphex) และpantoprazole (Protonix)
- ยาในระดับที่สาม ยาที่ใช้รักษาภาวะไหลย้อนคือ prokinetic agents ยาในกลุ่ม Prokinetic agents ทำหน้าที่ช่วยทำให้หูรูดกระเพาะอาหารปิดได้สนิทขึ้นเพื่อทำให้ไม่เกิดภาวะไหลย้อน ยาในกลุ่มนี้มักจะใช้ร่วมกันกับยาในกลุ่มที่ 1 หรือยาลดกรด ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ได้แก่ metoclopramide (Reglan),cisapride (Propulsid),erythromycin (Dispertab, Robimycin) และbethanechol (Duvoid, Urecholine)
มีการรายงานถึงผลข้างเคียงที่ค่อนข้างรุนแรงในเด็กและผู้ใหญ่จากการใช้ยา metoclopramide และ cisapride ผลข้างเคียงทางจิตคือภาวะสับสนกังวล ท้องเสีย คลื่นไส้ ยาในกลุ่มนี้มีปฏิกริยาระหว่างยากับยาชนิดอื่น ท่านจะต้องแจ้งให้เแพทย์ทราบว่าท่านกำลังทานยาชนิดอื่นอยู่ด้วยหรือไม่ นอกจากการใช้ยาแล้วยังมีวิธีอื่นที่จะใช้ลดอาการที่เกิดจาก ภาวะไหลย้อนได้ โดยการปฏิบัติดังนี้
• รับประทานอาหารในปริมาณครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยขึ้น
• หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารก่อนเข้านอน 2-3 ชั้่วโมง
• นอนให้ศรีษะให้สูง 6-8 นิ้ว โดยใช้ท่อนไม้รองพื้นเตียงบริเวณด้านหัวเตียงที่ศรีษะนอนทับ การใช้หมอนหนุนให้สูงขึ้นจะไม่ได้ผลมากนักเนื่องจากทำให้ลำตัวพับงอ
• หากอาการไม่รุนแรงนัก การออกกำลังกายโดยการบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องก็จะช่วยให้การบีบรัดของกล้าม เนื้อกระเพาะอาหารทำงานได้ดีขึ้น
• วิธีสุดท้ายที่จะใช้ในการรักษาคือ การผ่าตัด
ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะกรดไหลย้อน GER
• หลีกเลี่ยงการนอนราบ การออกกำลัง การยกของหนัก เอี้ยวตัว หรือก้มตัว หลังรับประทานอาหาร
• หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อดึก ไม่ควรรับประทานอาหารใดๆ อย่างน้อยภายในระยะเวลา 3 ชั่วโมงก่อนนอน
• หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยการทอด อาหารมัน ฟาสต์ฟู้ด เนย นม
• หลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดแก๊ส เช่น ถั่วทุกชนิด อาหารที่มีเครื่องเทศมากๆ หรือพืชผักที่มีกลิ่นแรง เช่น หัวหอม กระเทียม เป็นต้น
• หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด เช่น เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด หวานจัด
• หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มบางประเภท เช่น กาแฟ ชา ช็อกโกแลต น้ำอัดลม เครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์
• หลีกเลี่ยงผลไม้รสเปรี้ยว เช่น ส้ม มะเขือเทศ เป็นต้น
ผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อนอย่าเพิ่งถอดใจว่า ดูจากรายการอาหารและเครื่องดื่มแล้ว ยังมีอาหารอีกมากมายที่สามารถรับประทานได้ อาหารที่เราแนะนำให้รับประทาน เช่น ปลานึ่ง ปลาต้ม ข้าวกล้องต้ม ขนมปังโฮลวีท มันฝรั่ง มันเทศ กล้วยน้ำว้า ส่วนเครื่องดื่มแนะเป็นน้ำเปล่าดีที่สุด กรดไหลย้อน ถึงแม้ว่าจะเป็นภาวะเรื้อรัง เพียงแค่ปรับพฤติกรรมและปรับอาหาร ก็สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติได้